วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 14.30-17.00 น.


- วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอยู่ในระยะเวลาในการสอบกลางภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.30-17.00 น.




ความรู้ที่ได้รับ

               ในสัปดาห์นี้อาจารย์บอกข้อชี้แนะ และข้อบกพร่องของแต่ละแผนที่จะทดลองสอนว่ามีส่วนตรงไหนที่ยังบกพร่องอยู่อาจารย์ให้นำกลลับมาแก้ปรับปรุงให้ถูกต้อง เช่น 

- แผนเคลื่อนไหว อาจารย์ก็จะเสนอเเนะในส่วนของ
1. การเคาะจังหวะ ให้เคาะจังหวะปกติและจังหวะเร็ว เพราะเด็กยังแยกแยะจังหวะปกติกับจังหวะช้าไม่ได้ จะทำให้เด็กสับสนดังนั้นเราจึงควรเคาะจังหวะที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่ายและมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
2. การทำท่าทางเลียนแบบสิ่งต่างๆตามแผน ควรทำให้สอดคล้องกับเเผนการจัดประสบการณ์ของเรา
3. การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ควรแบ่งให้ชัดเจน ไม่วุ่นวาย ดังนั้นครูควรมีเทคนิคในการเเบ่งที่ดีและน่าสนใจ


แผนการจัดประสบการณ์ เคลื่อนไหวและจังหวะ  หน่วยยานพาหนะ



การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

     จากการเรียนในวันนี้ทำให้ดิฉันได้รับความรู้ และประโยชน์ในเรื่องของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ เคลื่อนไหวและจังหวะ ได้อย่างถูกต้อง รวมถึงเทคนิคต่างๆในการสอนว่าส่วนไหนควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น และส่วนไหนดีแล้ว สามารถนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น การเรียนในวันนี้ทำให้ดิฉันนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาปรับปรุงตนเองและสามารถนำไปใช้ในการฝึกประสบการณ์การสอนได้เป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง

  การเรียนในวันนี้ดิฉันได้เตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้าคือได้ศึกษาวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหว และจังหวะ และได้นำมาให้อาจารย์ตรวจความถูกต้องอีกครั้ง การแต่งกายมาเรียนดิฉันใส่ชุดพละของมหาวิทยาลัย มาเรียนก่อนเวลาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน

ประเมินเพื่อน

   วันนี้เพื่อนทุกคนมาเรียนตรงเวลาทุกคน บางคนก็มาก่อนเวลา เพราะจะได้มีเวลาเตรียมตัวก่อนเรียน และได้ตรวจดูแผนของตนเองก่อนที่จะให้อาจารย์ตรวจ เพื่อนๆเเต่งกายชุดพละของมหาวิทยาลัย และชุดพละของเอก บรรยากาศในการเรียนเพื่อนๆตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนอย่างเต็มที่


ประเมินอาจารย์

    สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหว และเทคนิคการสอนเป็นอย่างดีมาก ตรงไหนที่นักศึกษาทุกคนไม่เข้าใจอาจารย์ก็จะอธิบายและสาธิตการสอนให้นักศึกษาดู ทำให้ดิฉันเห็นถึงความตั้งใจและความใส่ใจของอาจารย์ต่อการถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับนักศึกษาทุกคนเป็นอย่างมาก




วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 14.30-17.00 น.



ความรู้ที่ได้รับ

   ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้ความรู้ในเรื่องของการจัดทำแผนการสอน มีการอธิบายและยกตัวอย่างให้ฟังอย่างละเอียด และมอบหมายให้ทำงานกลุ่มโดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ให้จัดทำแผนการสอนขึ้นหนึ่งหน่วย ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ตกลงกันว่าจะทำหน่วย "ยานพาหนะ"  

อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับ ส่วนประกอบของการจัดทำแผนการสอน ได้แก่

วัตถุประสงค์ คือ สิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้น

ประสบการณ์สำคัญ คือ สิ่งที่เด็กลงมือกระทำ จะแยกออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

กรอบพัฒนาการและกิจกรรม คือ ขอบเขตของการปฏิบัติกิจกรรม รวมถึงการประเมิน

การบูรณาการ จะแบ่งออกเป็น 
                  
               คณิตศาสตร์ ได้แก่ 1. จำนวนและการดำเนินการ

                                2. การวัด การตวง หาค่า เลือกขนาด
                                3. เลขาคณิต รูปทรง รูปร่าง 
                                4. พีชคณิต แบบรูปต่างๆ 
                                5. การเก็บข้อมูล และนำเสนอภาพ
                                6. การใช้หลักการทางคณิตศาสตร์


                วิทยาศาสตร์ ได้แก่ 1. กำหนดปัญหา
                                 2. รวบรวมข้อมูล
                                 3. ตั้งสมมติฐาน
                                 4. การทดลอง
                                 5. การสรุปผล

   
              สังคมศึกษา ได้แก่ การปฏิบัติที่มีส่วนร่วม ศิลปะแบบร่วมมือ สร้างชิ้นงานแบบร่วมมือ และนิทานแบบร่วมมือ


     
              พลศึกษา ได้แก่ การเคลื่อนไหว การดูแลตนเอง การล้างมือ การเล่นกลางแจ้ง และสุขอนามัย

      
     
                ศิลปะ ได้แก่ กิจกรรมพิเศษ (เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าของ               สิ่งของ)


     
              ภาษา ได้แก่ การฟัง, การพูด(เสนอความคิดเห็น), การอ่าน(อ่านภาพ อ่านสัญลักษณ์), การเขียน(เขียนคำที่สำคัญกับหน่วย เขียนภาษา)


กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                                          2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ได้แก่ ชนิด, ลักษณะ, การดูแลรักษา,                                                        ประโยชน์, ข้อควรระวัง
                                          3. กิจกรรมศิลปะ (จะต้องสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์)
                                          4. กิจกรรมเสรี (เล่นตามมุม)
                                          5. กิจกรรมกลางเเจ้ง
                                          6. กิจกรรมเกมการศึกษา





การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

     ความรู้ที่ได้รับในวันนี้เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการศึกษา และการประกอบอาชีพในอนาคตเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้เราได้เรียนรู้หลักการสอนที่ถูกต้องมีการวางแผนก่อนการสอนที่ถูกต้อง และได้ทราบถึงความหมายของการทำแผน ว่ามีความสำคัญอย่างไร และได้ทราบถึงคำต่างๆหรือคำศัพท์ต่างๆของการเขียนแผนว่ามีความหมายว่าอย่างไร ทำให้เราได้เรียนรู้กระบวนการเขียนแผนตั้งแต่ตนจนจบ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก


ประเมินตนเอง
     สำหรับวันนี้เข้าเรียนก่อนเวลา และได้ศึกษาแนวทางการเขียนแผนจากรุ่นพี่มาเป็นบ้างส่วน ทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองจากการสอนของอาจารย์ และนอกจากนี้ยังให้ความร่วมมือกับการเรียนการสอนเป็นอย่างดี และตั้งใจ


ประเมินเพื่อน
     เพื่อนทุกคนตั้งใจฟัง และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการสอนที่อาจารย์สอนอย่างตั้งใจ และทุกคนได้ลองลงมือเขียนแผนการสอนด้วยตนเอง ซึ่งทุกคนตั้งใจเต็มที่กับการเรียนในวันนี้เป็นอย่างมาก


ประเมินอาจารย์
     อาจารย์มีวิธีการสอนที่ทำให้เราเข้าใจ ในหลักการเขียนแผนได้อย่างง่าย ส่วนตรงไหนไม่เข้าใจอาจารย์ก็ทบทวนให้จนกว่าจะเข้าใจ และนอกจากนี้อาจารย์ยังมีข้อเสนอแนะต่างๆเกี่ยวกับการเขียนแผนของเราทำให้เเผนการสอนของเราสมบูรณ์ยิ่งขึ้น






วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน ครั้งที4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14.30-17.00 น.




ความรู้ที่ได้รับ
     ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นำเสนองานจากที่ไปศึกษาค้นคว้าในสัปดาห์ที่แล้ว ในหัวข้อการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบของมอนเตสซอรี่




การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่(Montessori Method)
ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง






การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นการนำวิธีการสอนเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าที่ประสบความสำเร็จมาใช้กับเด็กปฐมวัย โดยให้เด็กจับต้องสื่อหรือเล่นอุปกรณ์ต่างๆ ที่เลือกเอง ทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีสมาธิและสร้างสรรค์ เด็กสามารถประสมคำ อ่านคำและฝึกเขียนหนังสือได้ด้วยตนเองตามความสนใจตั้งแต่อายุ 4-5 ปี

การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ คือ

         การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยมีครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน และเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้เสรีภาพแก่เด็ก ให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้ใช้จิตใจซึมซับสิ่งแวดล้อม โดยครูคำนึง ถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ของเด็กและยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย การจัดการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง เพราะมอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กคือ ผู้รู้ความต้องการของตนเองและมีความสามารถที่จะซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมได้ หลักสูตรของมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กวัย 3-6 ขวบ ครอบคลุมการศึกษา 3 ด้านคือ

ด้านทักษะกลไก (Motor Education) หรือกลุ่มประสบการณ์ชีวิต มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อม การทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ ความรับผิดชอบและการประสานสัมพันธ์ให้สมดุล เด็กจะทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเบื้องต้นของชีวิตประจำวัน การดูแลตนเอง การจัดการเกี่ยวกับของใช้ในบ้าน เช่น การตักน้ำ การตวงข้าว การขัดโต๊ะไม้ การเย็บปักร้อย การรูดซิป การพับและเก็บผ้าห่ม หรือมารยาทในการรับประทานอาหารเป็นต้น
ด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเกี่ยวกับมิติ รูปทรง ปริมาตรของแข็ง ของทึบ อุณหภูมิ เด็กจะได้รู้จักทรงกระบอก ลูกบาศก์ ปริซึม แขนงไม้ ชุดรูปทรงเรขาคณิต บัตรประกอบแถบสี กระดานสัมผัส แผ่นไม้ แท่งรูปทรงเรขาคณิต กิจกรรมที่จัดให้เด็กปฏิบัติผ่านการเล่น เช่น หอคอยสีชมพู แผ่นไม้สีต่างๆ เศษผ้าสีต่างๆ รูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ รูปทรงกระบอก ระฆัง กล่อง และขวดบรรจุของมีกลิ่น แท่งไม้สีแดงและแท่นวางเป็นขั้นบันได ถุงที่ซ่อนสิ่งลึกลับ เป็นต้น
ด้านการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation For Writing and Arithmetic) หรือกลุ่มวิชา การ มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมเด็กเข้าสู่ระดับประถมศึกษา เตรียมตัวด้านการอ่านการเขียนโดยธรรมชาติ การประสมคำ คณิตศาสตร์ การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การประพันธ์เพลง การเคลื่อนไหวมือ เด็กจะเรียนเกี่ยวกับตัวเลข กล่องชุดอักษร ชุดแผนที่ เครื่องมือ โน้ตดนตรี กล่องและแท่งสี อักษรกระดาษทราย แผ่นโลหะชุดรูปทรงเรขาคณิต ชุดแต่งกาย เป็นต้น 





การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่มีที่มา


         การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่เกิดจากแนวคิดของมาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessori) แพทย์หญิงชาวอิตาลีที่มีความเชื่อว่า “การให้การศึกษากับเด็กในวัยเริ่มต้น ไม่ใช่การนำความรู้ไปบอกเด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการทางธรรม ชาติของเขา” มอนเตสซอรี่เริ่มต้นนำแนวการสอนนี้ไปใช้กับเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้า โดยประดิษฐ์สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นหัวใจสำคัญในการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยเน้นการฝึกฝนทางด้านประสาทสัมผัสจับต้อง บิดหรือหมุนด้วยมือ เพื่อให้สมองทำหน้าที่ตอบสนองได้ เด็กๆ จะได้เรียนรู้ความสำเร็จ ความล้มเหลว รู้จักแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเอง เกิดแรงผลักดันที่เด็กทำให้เกิดขึ้นเอง และมีระเบียบวินัยที่เกิดจากความเป็นอิสระของเด็ก โดยไม่จำเป็นต้องมีคำติชมของผู้ใหญ่ หรือการให้รางวัลและการลงโทษ มอนเตสซอรี่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งเมื่อเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าเหล่านั้นสามารถอ่าน เขียน สอบผ่านและเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ และยังใช้ได้ผลดีกับเด็กปกติอีกด้วย วิธีการสอนของมอนเตสซอรี่จึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก


ครูแบบมอนเตสซอรี่เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก คอยให้คำแนะนำ ปรึกษา โดยเตรียมการสอนและสิ่งแวดล้อมอย่างมีจุดมุ่งหมาย ครูสาธิตการใช้อุปกรณ์ให้เด็กดูอย่างเงียบๆ เปิดโอกาสให้เด็กตัดสินใจเองว่าจะเลือกทำงานหรือฝึกหัดอุปกรณ์ชิ้นใด โดยไม่จำต้องมีคำติชม หรือการให้รางวัลและการลงโทษ และต้องไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนจะทำอะไรได้เหมือนกันหมด แต่ครูต้องพยายามหาทางส่งเสริมให้ทุกคนอย่างเหมาะสม



การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
    จากการเรียนในวันนี้ทำให้ได้รับประโยชน์ในเรื่องของการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้เราสามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปพัฒนาปรับใช้กับตนเองได้เป็นอย่างดี ทำให้เราเข้าใจเด็กปฐมวัยมากขึ้น และได้ศึกษาวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย ซึ่งมีประโยชน์มากๆ


ประเมินตนเอง 
   วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจนำเสนองานเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี รวมถึงนำข้อเสนอแนะของอาจารย์ไปปรับใช้และเสนอต่ออาจารย์ 


ประเมินเพื่อน
    เพื่อนทุกคนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย และมีวิธีนำเสนองานที่เเตกต่างกันไป ซึ่งเป็นประโยชน์มากๆในการนำไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี


ประเมินอาจารย์
    อาจารย์มีข้อเสนอเเนะในเรื่องการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย แต่ละแบบเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้เราพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นในอนาคตได้ และทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอีกด้วย